พุยพุย

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

การเพิ่มชั้นข้อมูลรูปแบบเส้น (Line)

12.การเพิ่มชั้นข้อมูลรูปแบบเส้น (Line)

การสร้างข้อมูลเชิงเส้นก็เช่นกัน จะต่างจาก polygon และ point แค่เป็นข้อมูลเชิงเส้น โดยให้เลือกเป็นชั้นข้อมูลประเภท line และกำหนดค่าดังตัวอย่าง



การกำหนด coordinate reference system เมื่อสร้างชั้นข้อมูลขึ้นมาใหม่จาเป็นจะต้องกำหนด CRS ให้กับแผนที่เพื่อให้โปรแกรมรู้แผนที่อยู่โซนไหนของโลก โดยสามารถเลือกจากรายการที่โปรแกรมแสดงรายการออกมาให้ หรือจะเลือกจาก CRS เดิมที่เคยใช้ล่าสุดก็ได้เพื่อสะดวกต่อการทำงาน


ให้ใช้ปุ่มดังรูปในการวาด line แล้วใส่ข้อมูลตามที่ ได้ตั้งไว้ในตาราง






การเพิ่มชั้นข้อมูลรูปแบบจุด (Point)

11.การเพิ่มชั้นข้อมูลรูปแบบจุด (Point)

การเพิ่มชั้นข้อมูลแบบจุด ก็มีการกำหนดค่าที่ไม่ต่างจากการสร้างแบบ polygon เพียงแต่กำหนดประเภทชั้นข้อมูล กำหนดประเภทเป็น point


การกำหนด coordinate reference system เมื่อสร้างชั้นข้อมูลขึ้นมาใหม่จาเป็นจะต้องกำหนด CRS ให้กับแผนที่เพื่อให้โปรแกรมรู้แผนที่อยู่โซนไหนของโลก โดยสามารถเลือกจากรายการที่โปรแกรมแสดงรายการออกมาให้ หรือจะเลือกจาก CRS เดิมที่เคยใช้ล่าสุดก็ได้เพื่อสะดวกต่อการทำงาน


การวาดและการแก้ไขตำแหน่งจะใช้สัญลักษณ์ที่แตกต่างจาก polygon แต่การวาดและแก้ไขก็จะเหมือนกัน


การเพิ่มชั้นข้อมูลรูปแบบปิด (Polygon)

10.การเพิ่มชั้นข้อมูลรูปแบบปิด (Polygon)

การสร้างชั้นข้อมูลใหม่ให้คลิกที่ ปุ่มสร้างชั้นข้อมูลใหม่ดังภาพ


จะปรากฏหน้าต่าง new vector layer ให้กำหนดค่าต่างของชั้นข้อมูล อันดับแรกต้องเลือกประเภทของชั้นข้อมูล ซึ่งจากตัวอย่างเป็นการสร้างชั้นข้อมูลรูปแบบปิด ก็ให้เลือกเป็นแบบ polygon จากนั้นก็กำหนด coordinate reference system หรือพิกัดอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ว่าชั้นข้อมูลที่จะสร้างอยู่โซนไหน ซึ่งจะอธิบายขั้นตอนการกำหนดค่าในลาดับต่อไป ในแถบ new attribute เป็นแถบที่ใช้ในการเพิ่มและกำหนดรายละเอียดของฟิลด์ ว่าชั้นข้อมูลจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง และเก็บเป็นข้อมูลประเภทไหน เป็นตัวหนังสือ หรือตัวเลข ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายละเอียดทีละฟิลด์ เมื่อกำหนดค่าเรียบร้อยก็คลิกที่ add attribute เพื่อเพิ่มหัวฟิลด์ใหม่เข้าไป แต่ถ้าต้องการเอาออกก็ให้คลิ๊กที่ remove select attribute


การกำหนด coordinate reference system เมื่อสร้างชั้นข้อมูลขึ้นมาใหม่จาเป็นจะต้องกำหนด CRS ให้กับแผนที่เพื่อให้โปรแกรมรู้แผนที่อยู่โซนไหนของโลก โดยสามารถเลือกจากรายการที่โปรแกรมแสดงรายการออกมาให้ หรือจะเลือกจาก CRS เดิมที่เคยใช้ล่าสุดก็ได้เพื่อสะดวกต่อการทำงาน


เมื่อกำหนดรายละเอียดต่างที่จะเก็บในชั้นข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมก็จะให้ทาการบันทึก ชั้นข้อมูล และจะเพิ่มเข้ามาในชั้นของข้อมูล ซึ่งปุ่มเครื่องมือที่จะแก้ไขจะยังไม่ทางานต้องคลิกที่ปุ่มเปิดการใช้งานเครื่องมือแก้ไขก่อน


เมื่อเปิดการทำงานของเครื่องมือแก้ไข ก็จะปรากฏเครื่องมือในการวาดและแก้ไขแผนที่


ในการวาด polygon ใหม่ ให้เลือกที่ปุ่มเครื่องมือดังภาพ และเมื่อวาดเสร็จก็ทาการคลิกขวา เพื่อจบการทางาน จะปรากฏหน้าต่าง attribute เพื่อให้กรอกรายละเอียด ก็ให้กรอกเฉพาะที่ต้องการ ในส่วนของพื้นที่ สามารถให้โปรแกรมคำนวณให้ทีหลังได้ ตรงพื้นที่ให้ข้ามไปก่อน


เมื่อต้องการคำนวณพื้นที่ ให้กับ polygon ที่วาดขึ้นมาใหม่ ให้ทาการเปิดตารางข้อมูลขึ้นมา จะมีปุ่มที่ใช้สาหรับคำนวณ ดังภาพ ปุ่มนี้จะแสดงและสามารถคลิกได้ก็ต่อเมื่อ เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขเปิดทำงานอยู่เท่านั้น






การให้สัญลักษณ์ข้อมูลแผนที่ (Legend Type)

9.การให้สัญลักษณ์ข้อมูลแผนที่ (Legend Type)
ชั้นข้อมูลต่างๆ เมื่อนาเข้าในช่อง Layers จะแสดงเป็นสัญลักษณ์เดียว ผู้ใช้สามารถให้สัญลักษณ์กับชั้นข้อมูลได้ตามลักษณะข้อมูลและความเหมาะสม เปลี่ยนสัญลักษณ์ได้ที่แถบ Style การให้สัญลักษณ์ข้อมูลสามารถแบ่งข้อมูลได้ 2 ประเภทคือ
9.1.ข้อมูลเชิงคุณภาพ สัญลักษณ์ที่ให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่
- การให้ค่าสัญลักษณ์รูปแบบเดียว (Single Symbol) เป็นค่าเริ่มต้น (Default) ของโปรแกรม
- การให้ค่าสัญลักษณ์แบบแยกสีตามค่า (Unique Value) เป็นการให้สัญลักษณ์ในแต่ละรูปร่างซึ่งแสดงออกมาแตกต่างกันตามค่าในฟิลด์ในตารางที่ใช้กาหนด
9.1.1. วิธีทา สัญลักษณ์รูปแบบเดียว (Single Symbol)
1.) คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก properties 


2.) เลือก แถบ Style จากนั้นเลือก Single symbol ปรับแต่ง สี ลักษณะเส้น ตามความเหมาะสม เมื่อเสร็จสิ้นแล้วคลิก OK



9.2. ข้อมูลเชิงปริมาณ สัญลักษณ์ที่ให้กับข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่
- การไล่ระดับสัญลักษณ์ (Graduate Symbol) เป็นการให้ขนาดสัญลักษณ์แก่ข้อมูลเชิงปริมาณที่แบ่งเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่
- การไล่ระดับสี (Categorized Symbol) เป็นการให้สัญลักษณ์โดยการให้สีไล่ระดับไปตามค่าของข้อมูลเชิงปริมาณนั้นๆ
9.2.1 วิธีทา การไล่ระดับสัญลักษณ์ (Graduate Symbol)
1.) คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก properties 


2.) เลือก แถบ Style จากนั้นเลือก Graduate Symbol จะปรากฏ Classification field ให้เลือกข้อมูลที่ต้องการแบ่งกลุ่ม จากนั้นให้เลือกจานวนกลุ่ม เมื่อเลือกเสร็จให้กดปุ่ม Classify จะปรากฏกลุ่มของข้อมูลที่แยกตามหมวดหมู่ได้ในช่องด้านซ้าย เมื่อเสร็จสิ้นแล้วคลิก OK


9.2.2 วิธีทา การไล่ระดับสี (Categorized Symbol)
1.) คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก properties 


 2.) เลือก แถบ Style จากนั้นเลือก Categorized Symbol จะปรากฏ Classification field ให้เลือกข้อมูลที่ต้องการแบ่งกลุ่ม จากนั้นให้เลือกจานวนกลุ่ม เมื่อเลือกเสร็จให้กดปุ่ม Classify จะปรากฏกลุ่มของข้อมูลที่แยกตามหมวดหมู่ได้ในช่องด้านซ้าย เมื่อเสร็จสิ้นแล้วคลิก OK








การเปลี่ยนสัญลักษณ์ Style

8.การเปลี่ยนสัญลักษณ์ Style
เมื่อมีชั้นข้อมูลอยู่และต้องการที่จะเปลี่ยนสัญลักษณ์ข้อมูลแบบ line point และpolygon เช่น ต้องการที่จะเปลี่ยนสัญลักษณ์ของตาแหน่งหมู่บ้านในจังหวัดให้แตกต่างกันทาได้โดย

8.1.คลิกขวาที่ชั้นข้อมูล เลือก properties 


8.2.เลือก Style แล้วปรับสี ปรับขนาดของสัญลักษณ์ให้เหมาะสม เมื่อเสร็จสิ้นแล้วคลิก ปุ่ม OK


8.3.ผลลัพธ์ที่ได้ สังเกตรูปวงกลมจะเปลี่ยนเป็นรูปรถแทน






การเพิ่มชั้นข้อมูล

7.การเพิ่มชั้นข้อมูล
7.1 แบบเชิงเส้น (Vector)
เป็นการเพิ่มชั้นข้อมูลเชิงเส้น ซึ่งจะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ ชั้นข้อมูลรูปแบบปิด (polygon) ชั้นข้อมูลเชิงตำแหน่ง(point) และชั้นข้อมูลแบบเส้น (line) การเพิ่มชั้นข้อมูลให้คลิกที่ปุ่มเพิ่มชั้นข้อมูลเชิงเส้น




เลือกประเภทแหล่งชั้นข้อมูล ที่เก็บชั้นข้อมูลว่าอยู่ในรูปแบบใด โดยทั่วไปชั้นข้อมูลจะเก็บอยู่ในเครื่อง ให้เลือกที่ File ได้เลย Encoding จะเป็นการเข้ารหัสของตัวอักษรซึ่ง ตัวที่อ่านภาษาไทยได้ ก็จะมี UTF-8 และ TIS-620 เป็นต้น หรือจะเลือกเป็นแบบ systems ก็ได้ จากนั้นคลิ๊กที่ Browse เพื่อไปที่แหล่งเก็บข้อมูล


เมื่อไปที่ตำแหน่งที่เก็บของชั้นข้อมูล จะปรากฏไฟล์ที่มีนามสกุล *.shp ซึ่งเป็นนามสกุลของ shape file


เมื่อคลิกที่ open ก็จะปรากฏแผนที่ จากตัวอย่าง เป็นชั้นข้อมูลขอบเขตจังหวัดในประเทศไทย


7.2.ข้อมูลเชิงภาพ (Raster)
ข้อมูลเชิงภาพ ประกอบไปด้วย ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นต้น


โดยการเพิ่มชั้นข้อมูลเชิงภาพ ให้คลิกเลือกที่เมนูดังตัวอย่าง ก็จะแสดงตำแหน่งที่เก็บของภาพ ซึ่งสามารถกำหนดที่จะให้โปรแกรมเลือกแสดงนามสกุลของไฟล์ ทุกชนิดหรือเฉพาะที่ต้องการได้ ซึ่งนามสกุลที่สามารถเปิดได้ก็มีอยู่ชนิด เช่น *.TIF, *.JPEG,*.BITMAP,*.ECW เป็นต้น 13


เมื่อคลิกที่ open ก็จะปรากฏแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศดังตัวอย่าง







กำหนดรายละเอียดโครงการ

6.กำหนดรายละเอียดโครงการ

การกำหนดรายละเอียดของโครงการ เป็นการกาหนดให้แผนที่ แสดงมาตราส่วนของแผนที่ที่แสดงว่ามีหน่วยเป็น เมตร หรือองศา โดยการกาหนดค่าให้ไปที่ แถบเมนู --> Project --> Project Properties


ในหน้าต่าง Project Properties ให้เลือกที่แถบ General จะมีช่องให้กำหนดค่าต่างๆ เช่น Project title จะเป็นการกำหนดหัวข้อของโครงการ และแถบ Layer unit เป็นการกำหนดหน่วยมาตราส่วนของแผนที่ 9



ในแถบ Coordinate Reference System จะเป็นการกาหนดพิกัด หรือตาแหน่งอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ ให้กับโครงการ ซึ่งหากเคยกาหนดให้กับโครงการอื่นแล้วก็จะสามารถเลือกพิกัด ที่เคยใช้นั้นได้



















เครื่องมือต่างๆที่ใช้

5.เครื่องมือต่างๆที่ใช้

5.1.เมนูจัดการโครงการ ประกอบไปด้วยการสร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการเก่าที่ได้บันทึกไว้ บันทึกโครงการ และส่งออกเพื่อทาแผนที


5.2.เมนูเพิ่มชั้นข้อมูลก็จะประกอบไปด้วยการเพิ่มชั้นข้อมูลเชิงเส้น ข้อมูลเชิงภาพ ชั้นข้อมูลจากฐานข้อมูล สร้างชั้นข้อมูลใหม่ และเพิ่มข้อมูลจาก GPS


 5.3.เมนูแสดงรายละเอียด จะใช้สาหรับดูรายละเอียดต่างๆ ของแผนที่ โดยการเลือกดูที่แผนที่โดยตรงหรือ จากการเปิดตารางข้อมูล


5.4.เมนูจัดการมุมมองแผนที่ จะควบคุมการแสดงผลของแผนที่ เช่น การขยายแผนที่ การเลื่อนแผนที่ การขยายเต็มจอ หรือการย้อนกลับไปมุมมองเดิม เป็นต้น








การติดตั้งโปรแกรม Quantum GIS

4.การติดตั้งโปรแกรม Quantum GIS
4.1. ดาวน์โหลด โปรแกรม Quantum GIS ได้จาก http://www2.qgis.org/en/site/forusers/download.html

เลือกเวอร์ชั่น และขนาดbitของเครื่องคุณ(64 bit)



4.2.เมื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Quantum GIS เสร็จแล้ว ให้ ดับเบิ้ลคลิกที่ QGIS-OSGeo4W-2.6.1-1-Setup-x86_64.exe จะปรากฏหน้าจอติดตั้ง ให้คลิกที่ปุ่ม Next >






4.3.เมื่อคลิกที่ ปุ่ม Next จะปรากฏส่วนของ การยอมรับลิขสิทธิ์ของโปรแกรม Quantum GIS ให้คลิกที่ ปุ่ม  I Agree



4.4.เมื่อ คลิกที่ ปุ่ม I Agree จะปรากฏหน้าจอให้เลือกไดร์ที่จะเอาโปรแกรมไว้ ถ้าต้องการเก็บโปรแกรมไว้ที่อื่นนอกจากไดร์ C ให้คลิกปุ่ม Browse…แต่ถ้าไม่ต้องการเก็บไว้ที่อื่น ให้คลิกปุ่ม Next>



4.5.เมื่อคลิกที่ปุ่ม Next จะปรากฏหน้าจอ install ให้ทาการคลิกที่ปุ่ม Install ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 นาที



4.6.เมื่อคลิกที่ปุ่ม Install จะปรากฏหน้าจอ เสร็จสิ้นการติดตั้งระบบ ให้ทาการคลิกที่ปุ่ม Finish


4.7.ทดสอบการเปิดโปรแกรม Quantum GIS โดยไปที่หน้า Desktop ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Quantum GIS 2.6.1 หรือเข้าไปที่ Start > all programs > QGIS Brighton > QGIS Desktop 2.6.1 ถ้าได้ดังรูปด้านล่างก็ถือว่าติดตั้งระบบเสร็จสิ้น






วิวัฒนาการของโปรแกรม และ คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์

2.วิวัฒนาการของโปรแกรม
โปรแกรม Quantum GIS หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Qgis เป็นโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากประเทศเยอรมัน ในปี ค.. 2002 ประมาณเวอร์ชั่น 0.0.1-alpha และได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน ปี ค.. 2011 ได้ออกเวอร์ชั่นล่าสุดมา คือ Quantum GIS 1.7.1 Wroclaw (Platform: Windows - Standalone) ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการปรับปรุงทั้งในเรื่องของ bug ในตัวของโปรแกรมทาให้การทางานของระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนการแก้ไขข้อมูลเชิงพื้นที่ (Edit, Insert, Delete Data) มีการเพิ่มเติมในส่วนของปุ่มการทางานที่ช่วยในเรื่องของการแสดงผล รวมไปถึงการพัฒนาการทางานในส่วนของข้อมูลราสเตอร์(Raster Data) ที่เพิ่มฟังก์ชั่นในการประมวลผลข้อมูลภาพได้หลากหลาย สอดคล้องกับการทางานของ Gdal library, Ogr library ในรูปแบบ X/MIT style ภายใต้ Open Source license และที่สาคัญโปรแกรม Quantum GIS ได้ถูกพัฒนาให้รองรับการทางานร่วมกับข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันตามมาตรฐานสากล Open Geospatial Consortium (OGC) รวมไปถึงในเรื่องของการแสดงผลทั้งในส่วนของข้อมูล GDAL Raster Formats และ OGR Vector Formats


3.คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรม Quantum GIS สามารถทางานบนระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)ได้ทั้ง Linux, Unix, Mac OSX และ Microsoft Windows 3 

การใช้โปรแกรม QGIS เบื้องต้น


1. Quantum GIS คืออะไร
Quantum GIS หรือ QGIS เป็นโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการนามาใช้จัดการข้อมูลปริภูมิจัดอยู่ในกลุ่มซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Free and Open Source Software: FOSS) ที่ใช้งานง่าย ลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphic User Interface ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลภาพ ข้อมูลตาราง การแสดงผลตาราง การแสดงผลกราฟ ตลอดจนสามารถสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและนาเสนอข้อมูลได้ในรูปแบบแผนที่สามารถเรียกใช้ข้อมูลเวกเตอร์แรสเตอร์ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานแพร่หลาย เช่น Shapefile และ GeoTIFF QGIS สามารถแก้ไข Shape File format ได้ซึ่งเป็นที่ต้องการมากในเวลานี้ QGIS พัฒนาบนพื้นฐานของ Qt ที่เป็นไลบรารี่สาหรับ Graphical User Interface (GUI) ที่ใช้งานได้ทั้ง UNIX, Window และ Mac การพัฒนาใช้ภาษา C++ เป็นหลักนอกจากนั้น QGIS ยังเชื่อมต่อกับ Geospatial RDBMS เช่น PostGIS/PostgreSQL สามารถอ่านและเขียนฟีเจอร์ที่จัดเก็บในPostGIS ได้โดยตรง สามารถเชื่อมต่อกับ GRASS ได้ทาให้สามารถเรียกดูข้อมูลที่จัดเก็บใน GRASS โดยตรง และสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆของ GRASS ได้ สนับสนุนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) ในเบื้องต้น และการแสดงผลข้อมูลเชิงตาแหน่งในรูปแบบของแผนที่ การสร้างและการแก้ไข ข้อมูลเชิงตาแหน่ง (Spatial Data) และข้อมูลตาราง (Attribute Data) สามารถจัดการข้อมูลได้ง่ายโดยใช้
เครื่องมือตาม GUI ที่กาหนด